วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันเด็ก

  ปีนี้วันเด็กปี 2559 คำขวัญคือ 
รู้กันหรือไม่ว่าวันเด็กของไทยเรานั้นมีเรื่องราวมากมายกว่าจะเป็นแบบปัจจุบันนี้
ลองมาดูกัน 

1 วันเด็กเดิมไม่ได้จัดในเดือนมกราคม

   วันเด็กที่เราทราบกันคือ วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม แต่แรกทีเดียวนั้นเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ 
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2508

2 มี 1 ปีที่ไม่มีวันเด็ก
  ย้อนกลับไปที่ข้อ 1   ในปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน และวันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครองไม่สะดวกและปัญหาการจราจร

ครม.มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว

3 คำขวัญวันเด็กไม่ได้เกิดพร้อมวันเด็ก
  วันเด็กเริ่มในปี 2498 แต่คำขวัญวันเด็กนั้นกลับมีในครั้งที่ 2 คือปี 2499 ในสมัยที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
  แต่หลังจากปี 2499 ก็เว้นไม่มีคำขวัญ จนตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้ และต่อเนื่องทุกปีจนได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาว่านายกรัฐมนตรีจะต้องมอบให้จนถึงปัจจุบัน

4 คำขึ้นต้นคำขวัญที่พิเศษ

  จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์นั้นมีช่วงสมัยเป็นนายกถึง 5 ปีและเนื่องจากท่านได้เป็นนายกเพราะการปฎิวัติ คำขวัญท่านจึงเริ่มด้วย

"ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า..........." เช่น 
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย 

5 คำขวัญวันเด็กใช้ซ้ำ
  คำขวัญวันเด็กนั้นบางปีไม่มีการเปลี่ยน ยิ่งกรณีนายกท่านเดิมจะมีการใช้ซ้ำบางเช่น

นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 
ของนายก เปรม ใช้ปี 2529 2530 2531

รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
ของนายก ชาติชาย ใช้ปี  2532 2533

ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
ใช้ปี  2536 2537
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
ใช้ปี  2541 2542
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
ใช้ปี  2543 2544 ทั้ง 3 คำขวัญโดย นายกชวน

6 นายกที่คิดคำขวัญมากที่สุด 3 อันดับ

อันดับ 1  จอมพล ถนอม กิตติขจร 9 คำขวัญ
อันดับ 2  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 6 คำขวัญ
อันดับ 3 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เท่ากันที่ 5 คำขวัญ

หลายคนอาจถามถึงนายกชวน ที่มีระยะเวลาการเป็นนายกถึง 2 ครั้งและรวมกัน 7 ปีทำไมไม่คิดอันดับ

นายกชวนใช้คำขวัญซ้ำ 2 ปี 1 คำขวัญ ทำให้ท่านมีขวัญเพียง 4  

7 สถานที่พิเศษเปิดเฉพาะวันเด็ก
  เนื่องจากวันเด็กของไทยเกิดในยุครัฐบาลทหาร  มรดกหนึ่งที่สืบทอดมาคือการเปิดสถานที่สำคัญให้เด็กๆเข้าชมในวันเด็ก เช่นค่ายทหาร ทำเนียบนายก(เปิดให้นั่งเก้าอี้ด้วย) ฯลฯและนั้นรวมถึงยุทธโธปกรณ์ทางทหาร รถถัง เครื่องบินและอื่นๆด้วย
  ทราบหรือไม่

  พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิมนั้นจะเปิดเพียงเพื่อรัฐพิธีเท่านั้น และไม่เปิดโอกาศให้คนทั่วๆไปเข้าชมเว้นแต่วันเด็ก

  จริงๆแล้ววันเด็กยังมีความพิเศษอีกมากมายนี้แค่เคร่าๆเท่านั้น หวังว่าคงได้เกล็ดความรู้คู่การท่องเที่ยววันเด็กนี้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น