วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างข้อสอบแบบ ฟินแลนด์ และแนวคิด

ลองมาดูกันไหม ตัวอย่างข้อสอบแบบ ฟินแลนด์ ประเทศที่การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก  เค้ามีความเหมือนต่างจากเราอย่างไร

◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊

ตัวอย่างข้อสอบ

พื้นที่ทวีปภาพข้างล่างคือ แผนที่ของทวีปแอนตาร์กติก



คำถามที่ 1 : พื้นที่ทวีป

จงหาค่าโดยประมาณของพื้นที่ของทวีปแอนตาร์กติก โดยใช้มาตราส่วนในแผนที่อธิบายวิธีการประมาณหาพื้นที่นี้ด้วย (นักเรียนสามารถลากเส้นในแผนที่ที่กำหนดมาให้ได้ ถ้ามันจะช่วยให้การประมาณง่ายขึ้น)

คำตอบกับการให้คะแนน


ได้คะแนนเต็ม

คำตอบที่มีวิธีการถูกต้องและได้คำตอบถูกต้องด้วย อย่างเช่นวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

  • ประมาณการโดยการวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 รูป หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 รูป ได้คำตอบพื้นที่ระหว่าง 12,000,000 ตร.กม. ถึง 18,000,000 ตร.กม.

  • ประมาณการโดยการวาดรูปวงกลม 1 รูป ได้คำตอบพื้นที่ระหว่าง 12,000,000 ตร.กม. ถึง 18,000,000 ตร.กม.

  • ประมาณการโดยการบวกพื้นที่รูปเรขาคณิตหลายๆ รูปเข้าด้วยกัน ได้คำตอบพื้นที่ระหว่าง 12,000,000 ตร.กม. ถึง 18,000,000 ตร.กม.

  • ประมาณการโดยใช้วิธีการอื่นที่ถูกต้อง ได้คำตอบพื้นที่ระหว่าง 12,000,000 ตร.กม. และ 18,000,000 ตร.กม.

  • คำตอบถูกต้อง (ระหว่าง 12,000,000 ตร.กม. และ 18,000,000 ตร.กม.) แต่ไม่แสดงวิธีทำ


ได้คะแนนบางส่วน

วิธีการถูกต้อง แต่ได้คำตอบไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์

  • ประมาณการโดยการวาดรูปเรขาคณิต 1 รูป หรือหลายรูป แต่คำตอบที่ได้ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์

  • วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 รูป เอาความยาวของด้านกว้างคูณความยาวของด้านยาว แต่คำตอบมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าประมาณการ (เช่น 18,200,000)

  • วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 รูป เอาความยาวของด้านกว้างคูณความยาวของด้านยาว แต่จำนวนตัวเลขศูนย์ไม่ถูกต้อง (เช่น 4,000 X 3,500 = 140,000)

  • วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 รูป เอาความยาวของด้านกว้างคูณความยาวของด้านยาว แต่ลืมเปลี่ยนมาตราส่วนเป็นตารางกิโลเมตร (เช่น 12 ซม. X 15 ซม. = 180)

  • วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 รูป และบอกว่าพื้นที่เท่ากับ 4,000 กม. X 3,500 กม. แต่ไม่ทำอะไรต่อไป หรือประมาณการโดยใช้วิธีการอื่นที่ถูกต้อง แต่่คำตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์
ไม่มีคะแนน

คำตอบไม่ถูกต้องอื่นๆ (ไม่แสดงวิธีทำ และคำตอบไม่ถูกต้อง) เช่น

  • คำนวณหาความยาวเส้นรอบรูปแทนพื้นที่ เช่น 16,000 กม. ได้จากความยาวรอบรูปแผนที่คือ 16 ครั้ง ของระยะ 1,000 กม.

  • 16,000 กม.
ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ

เนื้อหา : ปริภูมิและรูปทรง
แขนงวิชา : การวัด
สถานการณ์ : ส่วนตัว / ส่วนบุคคล
สมรรถนะ : การทำใหม่
แบบของข้อสอบ : สร้างคำตอบแบบปิด

◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊

ความพิเศษของข้อสอบ
ข้อสอบไม่ได้ต้องการคำตอบที่ถูกต้องเป๊ะๆ ว่าง่ายๆคือสนใจในเรื่องวิธีคิดเสียมากกว่าโดยตัวข้อสอบจะไม่ได้บอกว่าต้องคิดอย่างไร ให้เด็กๆหาวิธีเองซึ่งถือเป็นความต่างค่อนข้างมากจากข้อสอบบ้านเราที่หลายๆครั้งคำตอบถูกต้อง วิธีถูกต้องแต่ไม่ใช่วิธีที่ครูต้องการก็ผิดได้เช่น -
3x4 ไม่เท่ากับ 4x3
ผิดเพราะนิยามคณิตศาสตร์
.
หรือ ยายบัวเก็บดอก ผิด?เพราะคำตอบที่ครูต้องการคือ ยายเก็บดอกบัว และยึดว่า ยายเก็บดอกบัวเท่านั้นที่ถูก

การยึดคำตอบหรือวิธีทำที่เคร่งครัดเกินไปในการศึกษาบ้านเราเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้การศึกษาไทยล้าหลังได้เช่นกัน

อ้างอิง
https://blog.eduzones.com/Globalacademycenter/148057
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=6230
http://new11609.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น